หากจะบอกว่า “รามคำแหง” เป็นแดนของความเจริญที่เกิดขึ้นใหม่อีกหนึ่งทำเล จากการมาของรถไฟฟ้าก็คงไม่ใช่สักทีเดียว เพราะแต่เดิมทีศักยภาพของรามคำแหงเองก็มีความเจริญอยู่พอตัว จะเห็นว่าในโซนรามคำแหงนี้ เดิมทีมีทั้งศูนย์การค้า โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สถานที่ออกกำลังกาย รวมไปถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ครบครันหรือแม้แต่ถนนสายหลักอย่าง ถนนรามคำแหง ก็เชื่อมกับถนนหลายสายที่ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายสำหรับทำเลแห่งนี้
แต่ปัจจัยที่ส่งให้รามคำแหงเป็นแดนความเจริญยิ่งขึ้น นั่นคือการเกิด Infrastructure ใหม่ ในย่านรามคำแหงนี้นั่นคือ “รถไฟฟ้า” สัญลักษณ์ของเมือง อีกหนึ่งทางเลือกที่เพิ่มขึ้นสำหรับการเดินทางที่ทำให้สะดวกรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
การเกิดรถไฟฟ้าในย่านรามคำแหง
ถนนรามคำแหงมีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
1) ช่วงสี่แยกคลองตัน ถึง แยกลำสาลี
2) ช่วงแยกลำสาลี ถึง แยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์
โดยการเกิดรถไฟฟ้าในย่ารามคำแหง ถือเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะการมาของรถไฟฟ้าในย่านนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่สายเดียวแต่รถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นมีถึง 3 สาย ได้แก่
จับตารถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม
รามคำแหงกลายเป็นทำเลที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากหลังเริ่มมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยมีสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี ( สถานีใต้ดิน10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี ) รวมระยะทาง 22.57 กิโลเมตร โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2564 หรืออีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า และส่วนต่อขยายในอนาคต (บางขุนนท์ –ศูนย์วัฒนธรรม)ที่จะเกิดขึ้น โดยรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ด้วยการเดินทางเพียงแค่ไม่กี่นาทีก็ถึงจุดหมาย
เชื่อมโยงการเดินทาง
ถนนรามคำแหงเชื่อมโยงถนนหลักหลายสาย ที่ไม่ว่าจะมุ่งหน้าเข้าเมืองหรือออกนอกเมืองก็เป็นเรื่องง่ายของการเดินทาง รวมถึงผู้ที่ทำงานย่านรามคำแหง-มีนบุรี ยังคงมีความคุ้นเคยกับการโดยสารเรือในคลองแสนแสบที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ประตูน้ำถึงท่าเรือวัดศรีบุญเรืองเนื่องจากปัจจุบันอยู่ในช่วงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่องจราจรการเดินรถมีการปิดบางช่องทาง ทำให้พื้นที่บริเวณนี้รถค่อนข้างติดหนักและเคลื่อนตัวได้ช้าในบางช่วง แต่หากอนาคตการก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ น่าจะทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น และมีอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการเดินทาง
RENOVATE เดอะมอลล์รามคำแหง
ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่อย่างเดอะมอลล์รามคำแหง 2 ได้มีการปรับโฉม Renovate ครั้งใหญ่หลังเปิดให้บริการมา 20 กว่าปี เพื่อรองรับอนาคตการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดรถไฟฟ้าขึ้นในย่านดังกล่าว โดยจะปรับเป็น Mix use Complex ที่ทันสมัย บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ คาดการณ์ว่าน่าเสร็จไล่เลี่ยกันกับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถือเป็นแหล่งLife Style อีกแห่งที่รองรับการใช้ชีวิตของคนเมืองได้เป็นอย่างดี รวมถึงหนุนให้ย่านบางกะปิ-รามคำแหงกลับมาคึกคักและมีชีวิตมากยิ่งขึ้น
ฝั่งตรงข้ามกันเป็นเดอะมอลล์รามคำแหง3 มีสภาพค่อนข้างทรุดโทรมไปมาก คาดว่ากำลังรอการ Renovate หลังการก่อสร้างเดอะมอลล์รามคำแหง2 และรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้วเสร็จ เนื่องจากหากปรับปรุงไปพร้อมๆกันกับการก่อสร้างดังกล่าวจะทำให้ในระแวกใกล้เหลือเพียงห้างใหญ่แห่งเดียวคือเดอะมอลล์บางกะปิเท่านั้นที่ยังคงช้อปปิ้งได้ แต่สภาพทรุดโทรมก็ไม่ได้เป็นผลมากนัก เพราะภายในยังคงมีผู้คนเดินช้อปปิ้งอยู่ในห้างมากพอสมควร แบรนด์สินค้าและอาหารฟาสฟู้ดส์อย่าง KFC, Starbuck, Swensen’s, Café Amazon, Hachiban Ramen, Yayoi และร้านค้าอื่นอีกหลายแบรนด์ ยังคงเปิดให้บริการได้ นั่นหมายถึงการอยู่ได้ของห้างสรรพสินค้า เพียงแต่รอการปรับโฉมเพื่อรองรับอนาคตที่เกิดขึ้นเท่านั้น
หากเดอะมอลล์รามคำแหงสร้างแล้วเสร็จ จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะคล้าย ห้างสรรพสินค้าEmquartier นั่นคือห้างจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง โดยฝั่งหนึ่งจะเป็นเดอะมอลล์รามคำแหง2 ที่กำลังถูกปรับให้กลายเป็น Mix use และอีกฝั่งจะเป็นเดอะมอลล์รามคำแหง3 ซึ่งจะมีรถไฟฟ้าตัดผ่านตรงกลาง แต่ต่างกันเพียงแค่โซนรามคำแหงจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยมาขึ้นที่สถานีรามคำแหง12
ขยับออกมาอีกสักหน่อยเราจะพบกับห้างใหญ่ในบริเวณนี้นั่นคือเดอะมอลล์บางกะปิ หนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ Traffic ของคนเดินหนาแน่นมากที่สุด แหล่งใช้ชีวิตที่เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของการช้อปปิ้งหากอยู่ในย่านรามคำแหง รวมถึงเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต อีเว้นท์ หรือแม้แต่การชุมนุมกันของเหล่าโอตะ เมื่อมีการแสดงของ BNK48 เพราะTheatreของ Girl Group สุดฮอตในรอบทศวรรษ ก็ตั้งอยู่ที่นี่ด้วย ส่งผลให้รามคำแหงกลายเป็นอาณาจักรของกลุ่ม เดอะมอลล์ กรุ๊ป ก็ว่าได้
หากพิจารณาในย่านนี้ ทำเลส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัย มีหมู่บ้านเก่าแก่ ตึกแถว อพาร์ทเม้นต์หลายแห่ง รวมถึงออฟฟิศเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปในย่านรามคำแหง ด้วยเป็นโซนที่พักอาศัยเป็นหลักจึงทำให้มีร้านค้าอยู่ค่อนข้างมาก และร้านอาหารแบบ Street Food รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าที่กระจุกตัวเป็นบางช่วง อย่างแถวๆ ม.ราม หรือ แถวบางกะปิ โดยคาดการณ์ว่าหากรถไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จ ราคาที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าวอาจมีการปรับราคาเพิ่มมากถึง 80-90%
อีกหนึ่งทางเลือกของที่อยู่อาศัยคือคอนโดมิเนียมที่มีการลงทุนและพัฒนาที่ดินให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในย่านรามคำแหง โดยทำเลที่โดดเด่นแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงรามคำแหง-ลำสาลี ช่วงรามคำแหง-หัวหมาก และช่วงรามคำแหง-พระราม9
รามคำแหง-พระราม9 จุดเชื่อมต่อระหว่างย่านที่อยู่อาศัยและย่านธุรกิจ
พระราม9-รามคำแหง เป็นย่านที่มีความเจริญอย่างต่อเนื่อง รายล้อมด้วยแหล่งไลฟ์สไตล์ของการใช้ชีวิตที่ทำให้พระราม9 เป็นเมืองที่ไม่เคยหลับ อีกทั้งยังเป็นแหล่งOffice building และ New CBD รามคำแหงเองก็เป็นย่านชุมชนที่อยู่อาศัยมาแต่เนิ่นนาน จึงทำให้เป็นจุดที่ลงตัวของการใช้ชีวิตระหว่างจุดเชื่อมของการอยู่อาศัยและย่านธุรกิจ รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์ทำให้ชีวิตมีสีสันไม่น้อย
พระราม9-รามคำแหง ทำเลที่ได้รับความสนใจและอยู่ในกระแสของตลาดอสังหาฯ ด้วยทำเลที่เป็นจุดเชื่อมต่อของความลงตัวและการอยู่อาศัยทำให้ ปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมย่านพระราม9-รามคำแหง มีราคาห้องเริ่มต้นที่ 3-3.5 ล้านบาท สำหรับห้องขนาด 27-30 ตารางเมตร หรือ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตารางเมตรละ 115,000-130,000 บาท (ข้อมูลจากคุณสุรเชษฐ์ กองชีพ นักวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์) โดยราคาที่อยู่อาศัยในย่านนี้มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ศักยภาพของรามคำแหงที่ส่งผลให้ฮอตยิ่งขึ้นด้วยเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทางทั้งรถและเรือ รวมไปถึงอนาคตที่จะกำลังจะมีรถไฟฟ้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้รามคำแหงคึกคัก ใกล้แหล่งไลฟ์สไตล์ที่ลงตัวอย่างพระราม9 ที่เพิ่มสีสันให้กับความเป็นอยู่ และตอบโจทย์ของการใช้ชีวิต เราจะเห็นรามคำแหงที่พัฒนายิ่งขึ้นแม้ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วก็ตาม…
บทความ By prop2morrow
เรียบเรียง By Estate Corner