02-168-3232
097-918-4244
เบรกก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย รอประเมินผู้ใช้และความคุ้มทุน

ชะลอรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และช่วงคูคต-ลำลูกกา และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 หลังคาดการณ์คนใช้น้อย เอกชนเมินลงทุน

ช่วงนี้มีข่าวความเคลื่อนไหวของโครงการรถไฟฟ้าที่เตรียมเปิดใช้บริการกันหลายสาย  ซึ่งการขยายโครงข่ายด้านการคมนาคมให้  ครอบคลุมนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทางเท่านั้น แต่ยังช่วยผลักดันให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เติบโตไปตามการพัฒนาของเมืองด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟ ที่ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่-รายเล็กต่างเข้าไป  จับจองพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการ ตอบสนองความต้องการของผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยที่ใกล้เมืองและเดินทางสะดวก

คอนโดฯ แนวรถไฟฟ้าปี 62 สร้างเสร็จกว่า 50,000 ยูนิต

หากมองย้อนไปปี 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นปีที่มีจำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์  รวมทั้งเป็นปีที่มีคอนโดมิ  เนียมก่อสร้างแล้วเสร็จ และจดทะเบียนอาคารชุดสูงสุดด้วยเช่นกัน จากข้อมูลของฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส ระบุว่า ปี 2561 มีคอนโดมิ เนียมก่อสร้างแล้วเสร็จ และจดทะเบียนอาคารชุดกว่า 112 โครงการ ประมาณ 55,325 ยูนิต สูงกว่าปี 2560 กว่า 20,835 ยูนิต หรือ ประมาณ 60% ส่งผลให้อุปทานสะสมคอนโดมิเนียมในปัจจุบันของกรุงเทพฯ พุ่งสูงถึงประมาณ  591,744  ยูนิต และยังมีคอนโดมิ  เนียมอีกมากกว่า 50,000 ยูนิตที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 ทั้งนี้ คอนโดมิเนียมประมาณ 340,688 ยูนิต หรือประมาณ 59% ของคอนโดมิเนียมทั้งหมด ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก และมากกว่า 233,835 ยูนิต ตั้งอยู่ในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน โดยรัชดาภิเษกและพหลโยธิน เป็นพื้นที่ที่มีจำนวนคอนโดมิเนียมมากที่สุด ประมาณ  80,483  ยูนิต คิดเป็น  14% รองลงมาเป็น สาทร สีลม และสุขุมวิทตอนต้น ประมาณ 46,552 ยูนิต คิดเป็น 8% และสุขุมวิท-บางนา ประมาณ 30,673 ยูนิต คิดเป็น 5% ของอุปทานทั้งหมด ตามลำดับ

คืบหน้าก่อสร้าง ทดลองวิ่ง เตรียมเปิดใช้จริงตามแผน

ในขณะที่คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าเปิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับความคืบหน้าด้านการก่อสร้าง และเริ่มทดลองใช้บริการของรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ซึ่งเตรียมเปิดให้ใช้บริการตามแผน ได้แก่

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับตลอดแนวเส้นทาง จำนวน  16 สถานี ได้แก่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว สถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม สถานี ม.เกษตรศาสตร์ สถานีกรมป่า  ไม้ สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ สถานีสายหยุด สถานีสะพานใหม่ สถานี  รพ.ภูมิพลอดุลยเดช สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ สถานี กม.25 และสถานีคูคต

กำหนดเปิดใช้บริการได้ในเดือนกรกฎาคม  2564  สามารถขนส่งผู้โดยสารประมาณ  50,000  คน/ชั่วโมง/ทิศทาง โดย 1 สถานีแรกจากหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว จะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ในเดือนสิงหาคม 2562

2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 16 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ ส่วนที่สถานียกระดับจำนวน  7  สถานี ได้แก่ สถานีท่าพระ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 18 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง

โดยตั้งแต่วันที่ ‪29 กรกฎาคม 2562‬ จะเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมทดลองเดินรถเสมือนจริง  โดยไม่เก็บค่าโดยสาร  และเตรียมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในเดือนกันยายน 2562 สามารถขนส่งผู้โดยสารประมาณ 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ‬‬

3. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี ได้แก่ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานี รฟม. สถานีประดิษฐ์มนูธรรม สถานีรามคำแหง 12 สถานีรามคำแหง  สถานีราชมังคลา สถานีหัวหมาก สถานีลำสาลี สถานีศรีบูรพา และสถานีคลองบ้านม้า ส่วนที่เป็นสถานียกระดับมีทั้งหมด  7  สถานี ได้แก่ สถานีสัมมากร สถานีน้อมเกล้า สถานีราษฎร์พัฒนา สถานีมีนพัฒนา สถานีเคหะรามคำแหง สถานีมีนบุรี และสถานีสุวินทวงศ์

กำหนดเปิดใช้บริการได้ประมาณปี 2566 โดยภาพรวมความคืบหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ประมาณ 39% เมื่อแล้วเสร็จเปิดใช้บริการ จะสามารถขนส่งผู้โดยสารประมาณ 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

ชะลอโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 3 สาย ทำเลชานเมือง

จะเห็นได้ว่าโครงการรถไฟฟ้าหลายสายมีความคืบหน้า เพื่อเตรียมเปิดใช้บริการได้ทันตามแผน แต่ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้มีการเปิดเผยออกมาว่า มีรถไฟฟ้า 3 สายที่ได้ชะลอแผนการลงทุนโครงการเอาไว้ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และช่วงคูคต-ลำลูกกา รวมถึงรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4

โดยสาเหตุหลักมาจากเป็นพื้นที่ชานเมือง  อาจจะไม่มีผู้โดยสารมากนัก  และเอกชนเองก็อาจจะไม่สนใจเข้ามาลงทุน  ประกอบกับต้องการรอให้รถไฟฟ้าสายใหม่ เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีส้ม  เปิดบริการก่อน เพื่อประเมิน ทิศทางของผู้โดยสารอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของกระทรวงคมนาคมเองก็ได้มีการชะลอโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ด้วยเหตุผลเดียวกัน

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ประเด็นที่ยังต้องตามกันต่อ

ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ มีข้อเสนอจากหลายภาคส่วนให้รัฐบาลทบทวนต้นทุนค่าโดยสารรถไฟฟ้า ใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทการขยายตัวของเมืองหลวงเหมือนในต่างประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งมีค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกกว่าไทยหลายเท่าตัว

ทั้งนี้ เนื่องจากต้นทุนการเดินรถไฟฟ้าของไทยคิดแค่เฉพาะต้นทุนประกอบการธุรกิจเดินรถพร้อมกำหนดราคาที่ตายตัวไว้ในสัญญาสัมปทาน ขณะที่ในต่างประเทศมีการนำตัวเลขมูลค่าผลประโยชน์ด้านอื่นมาคิดคำนวณด้วย เช่น รายได้จากค่าธุรกิจสื่อภายในสถานี รายได้เชิงพาณิชย์จากตัวสถานี และรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ทำให้การคิดราคาค่าโดยสารไม่สูงมากเหมือนของไทย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีกรมขนส่งทางรางซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกส่วนมาจากสำนักนโยบายและแผนการจราจร (สนข.) เข้ามากำกับดูแลในเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน  แต่ทั้งนี้คงต้องพิจารณาให้รอบด้านทั้งความคุ้มทุน และคุ้มค่าในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่วางแผนซื้อคอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายเหล่านี้ก็อาจจะต้องมีการปรับแผนหรือรอความชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในทำเลเหล่านี้สะดุด  เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือก  ซื้อที่อยู่อาศัย ยิ่งถ้าอยู่ใกล้รถไฟฟ้าก็ย่อมเป็นที่จับตาและได้รับความสนใจมากกว่า ซึ่งก็ต้องรอลุ้นว่าโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้ง 3 สายนี้จะเดินเครื่องอีกทีได้เมื่อไหร่

 

DDproperty